วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ความสำคัญของการแนะแนว
จุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
ความสำคัญของการแนะแนว
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล สามารถค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตน เสริมสร้างทักษะชีวิต วุฒิภาวะทางอารมณ์ การเรียนรู้ในเชิงพหุปัญญา และการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ซึ่งครูแนะแนวทุกคนต้องทำหน้าที่แนะแนว ให้คำปรึกษาด้านชีวิต การศึกษาต่อ และการพัฒนาตนเองสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
กิจกรรมแนะแนว ถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด เป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีความสุข
หน้าที่และหลักการแนะแนว
ปรัชญาของการแนะแนว
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่าง
2. มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงยิ่ง
3. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและศักยภาพประจำตัว
4. บุคคลแต่ละคนย่อมต้องการความช่วยเหลือ
5. บุคคลจะมีความสุขเมื่อได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ในด้านต่าง ๆ
6. พฤติกรรมทุกอย่างย่อมมีสาเหตุ


ยรุ่นกับเจตคติในเรื่องเพศ
เจตคติในเรื่องเพศ (sexual attitude) หมายถึง ท่าที ความรู้สึก หรือความเชื่อของบุคคลที่มีต่อเรื่องเพศ และแสดงออกทั้งทางบวกและทางลบ
พฤติกรรมทางเพศ (sexual behavior) หมายถึง ความคิดและการแสดงออกของบุคคลเกี่ยวกับเรื่องเพศ แต่ละบุคคลมีเจตคติเรื่องเพศที่แตกต่างกัน เพราะมีความรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และแนวคิดในเรื่องเพศที่แตกต่างกัน
ความเชื่อเรื่องเพศของวัยรุ่นบางอย่างเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือโรคเอดส์ได้ วัยรุ่นจึงควรมีเจตคติในเรื่องเพศเชิงบวก ซึ่งจะทำให้แสดงออกถึงท่าที อารมณ์ และความรู้สึกทางเพศจากสภาพจิตใจโต้ตอบในด้านดีต่อบุคคลอื่นหรือเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องเพศ


ปัจจัยที่มีอิทธิพลในเรื่องเพศของวัยรุ่น
ครอบครัว
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับเด็กและบทบาททางเพศที่ถูกต้อง จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม บุคคลในครอบครัวต้องอบรมและดูแลพฤติกรรมทางเพศตามวัยของเด็ก
เพื่อน
กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการประพฤติปฏิบัติตามหรือขัดต่อกฎของสังคมของวัยรุ่น ทำให้วัยรุ่นเสี่ยงที่จะถูกชักจูงให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมได้
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมไทยมีการสืบสานวัฒนธรรมอันดีงามทางด้านพฤติกรรมทางเพศมาตั้งแต่อดีต วัยรุ่นจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของวัฒนธรรมนั้นต่างชาติที่นำมาปฏิบัติไม่ให้ขัดกับวัฒนธรรมไทย


วัยรุ่นกับปัญหาและผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน
สาเหตุของการมีเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
– สิ่งเร้าภายในตามธรรมชาติ เกิดจากต่อมไร้ท่อในร่างกายขับฮอร์โมนเพศออกมา ทำให้เกิดอารมณ์และความต้องการทางเพศ ความต้องการทางเพศจะถูกขจัดไปโดยกระบวนการทางธรรมชาติหรือด้วยการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง (masturbation)
– สิ่งเร้าภายนอก ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์จากสิ่งเร้าภายนอกที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งเร้าโดยการรับรู้ที่ผ่านประสาทการรับรู้ทั้งห้า สิ่งเร้าด้านสิ่งแวดล้อม กระบวนการกล่อมเกลาและอบรมจากสถาบันต่าง ๆ ในสังคม และกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม


วัยรุ่นกับการป้องกันและหลีกเลี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1. โรคเอดส์ เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยพบมากในเลือด น้ำเหลือง อสุจิ และน้ำในช่องคลอดของผู้ป่วยโรคเอดส์ น้ำนม น้ำลาย
2. กามโรค เป็นโรคที่ติดต่อโดยการร่วมประเวณีกับผู้ที่เป็นโรค
3. โรคซิฟิลิส เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เทรโพนีมา พัลลิดัม (treponema pallidum)
4. โรคหนองใน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไนซีเรีย โกโนเรีย (neisseria gonorrhoeae) จะเข้าไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์
5. โรคแผลริมอ่อน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ฮีโมฟิลุส ดูเครย์ (haemophilus ducreyi)
6. โรคหนองในเทียม เกิดจากมีสิ่งระคายเคืองในท่อปัสสาวะ หรือมีแผลในทางเดินปัสสาวะ











วัยรุ่นกับการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
ผลกระทบของการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ จะส่งผลต่อตัววัยรุ่นโดยตรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงส่งผลต่อครอบครัว หากมีความไม่เข้าใจและไม่ยอมรับจนนำไปสู่ปัญหาสังคมตามมาได้
แนวทางป้องกันและหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
1. ต้องรู้จักหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์
2. ต้องรู้จักใช้ทักษะในการปฏิเสธเพื่อแก้ไขสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์
3. ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน ควรใช้หลักความเสมอภาคทางเพศและการวางตัวที่เหมาะสมต่อเพศตรงข้ามมาใช้
4. ต้องระมัดระวังในเรื่องการแต่งกาย
5. ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางตามลำพังในเวลาวิกาลหรือเส้นทางที่เปลี่ยว ควรมีญาติหรือเพื่อนร่วมเดินทางไปด้วย


ความเสมอภาคทางเพศ
การที่ชายและหญิงมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกบทบาททางเพศของตนอย่างเท่าเทียม แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบที่เหมาะสมกับสังคม
ลักษณะการวางตัวให้เหมาะสมกับเพศและการวางตัวต่อเพศตรงข้าม
1. การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศ เช่น ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ การแสดงกิริยาวาจาที่เหมาะสม
2. การวางตัวต่อเพศตรงข้าม
เพศชาย การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะเพื่อน ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ใช้วาจาและการแสดงกิริยาต่าง ๆ ที่สุภาพเรียบร้อย และการให้ความสนิทสนมควรอยู่ในขอบเขต ควรระลึกเสมอว่าต้องให้เกียรติเพศหญิงในทุกโอกาส
เพศหญิง ควรแต่งกายให้มิดชิด รัดกุม ใช้วาจาสุภาพให้สมกับเป็นกุลสตรี ไม่ควรอยู่ตามลำพังกับเพศชายสองต่อสองในที่ลับตาคน ต้องรักนวลสงวนตัว
3. การวางตัวต่อเพศตรงข้ามในฐานะคู่รัก
ควรศึกษาอุปนิสัย ความต้องการ และความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์จนถึงการสมรสและใช้ชีวิตร่วมกัน ควรทำความรู้จักญาติทั้งสองฝ่าย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวและสร้างความสัมพันธ์ในระหว่างญาติก่อนแต่งงาน


คำสำคัญ เจตคติในเรื่องเพศ พฤติกรรมทางเพศ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ การสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง โรคเอดส์ กามโรค โรคซิฟิลิส โรคหนองใน โรคแผลริมอ่อน การล่วงละเมิดทางเพศ การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ ความเสมอภาคทางเพศ การวางตัวให้เหมาะสมกับเพศ การวางตัวต่อเพศตรงข้าม 
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษChristianityราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา[1] เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ [2] ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน
คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์"[3] ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก[4]
ศาสนาคริสต์ในช่วงแรกถือเป็นนิกายหนึ่งของศาสนายูดาห์เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 1[5][6] โดยถือกำเนิดขึ้นในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตะวันออกของตะวันออกกลาง (ปัจจุบัน คือ อิสราเอลและปาเลสไตน์) ไม่นานก็แผ่ขยายไปยังซีเรีย เมโสโปเตเมีย เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ศาสนาคริสต์มีขนาดและอิทธิพลเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ทศวรรษ และจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ได้กลายมาเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมัน[7] ระหว่างสมัยกลาง ดินแดนยุโรปที่เหลือส่วนมากรับศาสนาคริสต์แล้ว แต่บางภูมิภาค เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ เอธิโอเปีย และบางส่วนของอินเดีย คริสตชนยังถือเป็นศาสนิกชนกลุ่มน้อย[8][9] หลังยุคสำรวจ ศาสนาคริสต์ได้แผ่ขยายไปยังทวีปอเมริกา ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮารา และส่วนที่เหลือของโลกผ่านงานมิชชันนารีและการล่าอาณานิคม
คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระเยซูคือพระเมสสิยาห์ที่พยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งในศาสนาคริสต์เรียก "พันธสัญญาเดิม" พื้นฐานเทววิทยาศาสนาคริสต์นั้นแสดงออกมาในหลักข้อเชื่อสากล (ecumenical creed) ที่มีมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในบรรดาคริสต์ศาสนิกชน การประกาศความเชื่อนี้มีอยู่ว่า พระเยซูทรงรับพระทรมาน สิ้นพระชนม์ และถูกฝังไว้ ก่อนจะคืนพระชนม์เพื่อให้ชีวิตนิรันดร์แก่ผู้ที่เชื่อในพระองค์และไว้วางใจว่าพระองค์เป็นผู้ไถ่บาป[10] พวกเขายังเชื่ออีกว่าพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงควบคุมและปกครองรวมกับพระเจ้าพระบิดา นิกายส่วนใหญ่สอนว่าพระเยซูจะกลับมาพิพากษามนุษย์ทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย และให้ชีวิตนิรันดร์แก่สาวกของพระองค์[11] พระองค์ทรงถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของชีวิตอันดีงาม และเป็นทั้งผู้เผยพระวจนะและเป็นพระเจ้าลงมารับสภาพมนุษย์[12]
ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ศาสนาคริสต์มีศาสนิกชนประมาณ 2.4 พันล้านคนทั่วโลก[13][14] คิดเป็นประมาณ 33% หรือหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของประชากรโลก และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก[15][16] ทั้งยังเป็นศาสนาประจำชาติในหลายประเทศ
เวลาที่พูดทักทายกันโดยปกติเราเคยได้ยินหรือใช้เพียงแค่ How are you? ใช่ไหม 
ประโยคข้างล่างนี้ใช้แทนกันได้ จำๆเอาไว้นะ 
เวลาได้ยินประโยคพวกนี้จะได้เข้าใจว่าเขาถามเราว่า How’re you?

How’s it been? ที่ผ่านมา เป็นยังไงบ้าง
How have you been?
How have you been up to?
How’s it going?
How’s everything?

What’s new? (informal) ไงวะ
What’s up? (informal)

เคยบ้างไหมที่บางทีเราเดินเล่นอยู่ดีๆ ก็เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันนานมากๆๆๆ อยากรู้ไหมว่าสถานการณ์แบบนี้เขาทักทายกันอย่างไร มาดูกันเลย......... 

I haven’t seen you in year! ไม่เจอกันนานเลยนะ
Long time no see! (informal)
I haven’t seen you in an age!

หลังจากที่ทำการทักทาย และมีการถามว่าสบายดีไหม 
เราก็ต้องตอบออกไปทำนองว่า ดี งั้นๆ หรือแย่ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของเรา ไม่ใช่ตอบ I’m fine. อย่างเดียว มาดูกันนะครับว่าที่อเมริกาเขาตอบกันอย่างไร 
ตอบในแง่สุขภาพหรือไม่ก็ สบายดี แข็งแรง 

I’m fine. สบายดี
Fine.
Okay.
All right.
Great.
Keeping cool.
I’m cool. (slang) สบายดีว่ะ

ตอบในแง่บวก ประมาณว่า ดี ไม่มีปัญหา 

Keeping out of trouble. ไม่มีปัญหา
Been keeping out of trouble.
Keeping busy. ดี (แบบทำโน่นทำนี่ไปเรื่อยๆ)
Keeping myself busy.
Been keeping myself busy.

ตอบในกลางๆ ประมาณว่า งั้นๆ 

Same as always. เหมือนเดิม
Same as usual.
Getting by. ก็อยู่ได้นะ
Been getting by.
So-so. (informal) งั้นๆว่ะ

ตอบในแง่ลบ ประมาณว่า แย่ ไม่ดี
Not good. ไม่ดีเลย
Not so good.
Not well.
Not very well.
Not so well.
Not great.
Not so great.
Crummy. (slang) แย่ว่ะ
Kind of crummy. (slang)
กิจการการลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (อังกฤษLord Baden Powell) เรียกย่อว่า "บี พี" ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar) ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ที่แอฟริกาใต้ในปี พ.ศ. 2442 ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2450 จึงได้ทดลองนำเด็กชาย 20 คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี (อังกฤษBrowmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้ ปี พ.ศ. 2451 บี พี จึงได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ

ประวัติกิจการ[แก้]

ผู้ก่อตั้งลูกเสือโลกคือ ลอร์ด เบเดน เพาเวลล์ ( บี.พี. ) ชาวอังกฤษ ( เกิด 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2400 ) ในวัยเด็กโพเอลล์ ชอบท่องเที่ยวพักแรม จึงรักธรรมชาติ ชอบร้องเพลง และมีความรู้ในการใช้แผนที่เป็นอย่างดี เมื่ออายุ 19 ปี ได้รับราชการทหารเป็นร้อยตรี ไปประจำการ ณ ประเทศอินเดียและแอฟริกา โพเอลล์เป็นทหาร มีเงินเดือนน้อยจึงรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด เข้มแข็งและอดทน หลังจากปลดประจำการแล้ว ได้นำประสบการณ์ตอนเป็นทหาร เช่น การฝึกสอนเด็กๆ ให้รู้จักทำหน้าที่เป็นผู้สื่อข่าว และเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ มาพัฒนาแนวคิดเป็นขบวนการลูกเสือ โดยในปี พ.ศ. 2450 โพเอลล์ได้รวบรวมเด็ก 20 คน ให้ไปอยู่กับเขาที่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับเป็นการพักแรมครั้งแรกของลูกเสือ และต่อมาได้มีการก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นอย่างจริงจัง โพเอลล์ ใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ที่เคนยา แอฟริกา ในช่วงอายุ 80 ปี และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485 ที่ประเทศเคนยา
ลูกเสือมาจากคำว่า SCOUT ซึ่งมีความหมายดังนี้[ต้องการอ้างอิง]
  • S : Sincerity หมายถึง ความจริงใจ มีน้ำใสใจจริงต่อกัน
  • C : Courtesy หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้มีมารยาทดี
  • O : Obedience หมายถึง การเชื่อฟัง อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาท
  • U : Unity หมายถึง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน รู้รักสามัคคี
  • T : Thrifty หมายถึง ความมัธยัสถ์ ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด

การลูกเสือในประเทศไทย[แก้]

ดูบทความหลักที่: คณะลูกเสือแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 โดยทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”
กิจการลูกเสือในประเทศไทยยังคงได้รับการสืบสานให้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับนับจนปัจจุบัน โดยมี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็นประมุขคณะลูกเสือแห่งชาติ และ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์คณะลูกเสือแห่งชาติ
ลูกเสือ คือ เยาวชนชายและหญิงอายุระหว่าง 8 – 25 ปี ที่รับการฝึกอบรมตามหลักสูตรวิชาลูกเสือ โดยยึดมั่นในหลักการ (Principle) วิธีการ (Method) และวัตถุประสงค์ (Purpose) ของการลูกเสือ (Scouting) อย่างเคร่งครัดตามพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551 และข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติว่าด้วยการปกครอง หลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้กำหนดประเภทและเหล่าลูกเสือว่า ลูกเสือมี 4 ประเภท คือ สำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ วิสามัญ และอาจจัดให้มีลูกเสือเหล่าสมุทร และลูกเสือเหล่าอากาศได้ สำหรับลูกเสือที่เป็นหญิง อาจใช้ชื่อเรียกว่า เนตรนารี หรือชื่ออื่นซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติให้หมายถึง ลูกเสือที่เป็นหญิงด้วย
1. ลูกเสือสำรอง (Cub Scout) อายุ 8 – 11 ปี คติพจน์: ทำดีที่สุด (Do Our Best)
2. ลูกเสือสามัญ (Scout) อายุ 11 – 16 ปี คติพจน์: จงเตรียมพร้อม (Be Prepared)
3. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ (Senior Scout) อายุ 13 – 18 ปี คติพจน์: มองไกล (Look Wide)
4. ลูกเสือวิสามัญ (Rover) อายุ 16 - 25 ปี คติพจน์: บริการ (Service)

ความรู้ทางดนตรี

ดนตรี
คือ เสียงที่จัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ และมีแบบแผนโครงสร้าง เป็นรูปแบบของกิจกรรมเชิงศิลปะของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเสียง โดยดนตรีนั้นแสดงออกมาในด้านระดับเสียง (ซึ่งรวมถึงท่วงทำนองและเสียงประสานจังหวะ และคุณภาพเสียง (ความต่อเนื่องของเสียง พื้นผิวของเสียง ความดังค่อย) ดนตรีนั้นสามารถใช้ในด้านศิลปะหรือสุนทรียศาสตร์ การสื่อสาร ความบันเทิง รวมถึงใช้ในงานพิธีการต่างๆ

องค์ประกอบของดนตรี

ประกอบด้วย
1. เสียง (Tone)
เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่เป็นไปอย่างสม่ำ เสมอ ส่วนเสียงอึกทึกหรือเสียงรบกวน (Noise) เกิดจากการสั่นสะเทือนของอากาศที่ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะความแตกต่างของเสียงขึ้นอยู่กบคุณสมบัติสำคัญ 4ประการ คือ ระดับเสียง ความยาวของเสียง ความเข้มของเสียง และคุณภาพของเสียง
1.1 ระดับเสียง (Pitch) หมายถึง ระดับความสูง-ต่ำของเสียง ซึ่งเกิดการจำนวนความถี่ของการสั่นสะเทือน กล่าวคือ ถ้าเสียงที่มีความถี่สูง ลักษณะการสั่นสะเทือนเร็ว จะส่งผลให้มีระดับเสียงสูง แต่ถ้าหากเสียงมีความถี่ต่ำ ลักษณะการสั่นสะเทือนช้าจะส่งผลให้มีระดับเสียงต่ำ
1.2 ความสั้น-ยาวของเสียง (Duration) หมายถึง คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความยาว-สั้นของเสียง ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดลีลา จังหวะ ในดนตรีตะวันตก การกำหนดความสั้น-ยาวของเสียง สามารถแสดงให้เห็นได้จากลักษณะของตัวโน้ต เช่น โน้ตตัวกลม ตัวขาว และตัวดำ เป็นต้น สำหรับในดนตรีไทยนั้น แต่เดิมมิได้ใช้ระบบการบันทักโน้ตเป็นหลัก แต่ย่างไรก็ตาม การสร้างความยาว-สั้นของเสียงอาจสังเกตได้จากลีลาการกรอระนาดเอก ฆ้องวง ในกรณีของซออาจแสดงออกมาในลักษณะของการลากคันชักยาวๆ
1.3 ความเข้มของเสียง (Intensity) ความเข้มของสียงเกี่ยวข้องกับน้ำหนักของความหนักเบาของเสียง ความเข้มของเสียงจะเป็นคุณสมบัติที่ก่อประโยชน์ในการเกื้อหนุนเสียงให้มี ลีลาจังหวะที่สมบูรณ์
1.4 คุณภาพของเสียง (Tone Quality) เกิดจากคุณภาพของแหล่งกำเนิดเสียงที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้คุณภาพของเสียงเกิดความแตกต่างกันนั้น เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น วิธีการผลิตเสียง รูปทรงของแหล่งกำเนิดเสียง และวัสดุที่ใช้ทำแหล่งกำเนิดเสียง ปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดลักษณะคุณภาพของเสียง ซึ่งเป็นหลักสำคัญให้ผู้ฟังสามารถแยกแยะสีสันของสียง (Tone Color) ระหว่างเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งกับเครื่องหนึ่งได้อย่างชัดเจน
1.5 “สีสันของเสียง” (Tone color ) หมายถึง คุณลักษณะของเสียงที่กำเนิดจากแหล่งเสียงที่แตกต่างกัน แหล่งกำเนิดเสียงดังกล่าว เป็นได้ทั้งที่เป็นเสียงร้องของมนุษย์และเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ความแตกต่างของเสียงร้องมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างเพศชายกับเพศหญิง หรือระหว่างเพศเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานของการแตกต่างทางด้านสรีระ เช่น หลอดเสียงและกล่องเสียง เป็นต้น

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล [1] ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ [2] ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์ [3][4] =
มนุษย์รู้จักการจัดเก็บ ค้นคืน จัดดำเนินการ และสื่อสารสารสนเทศมาตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโดยชาวซูเมอร์ ซึ่งได้พัฒนา[5]เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล [5] แต่ศัพท์ [5] ในความหมายสมัยใหม่ ปรากฏขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1958 ในงานพิมพ์ ฮาร์เวิร์ดบิซเนสรีวิว (Harvard Business Review) ซึ่งเขียนโดย [6] และ โทมัส แอล. วิสเลอร์ โดยให้ความเห็นไว้ว่า "เทคโนโลยีใหม่ยังไม่มีชื่อที่ตั้งขึ้นเป็นสิ่งเดียว เราจะเรียกมันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)" คำจำกัดความของศัพท์นี้ประกอบด้วยเทคโนโลยีสามประเภท ได้แก่ เทคนิคเพื่อการประมวลผล การประยุกต์ใช้วิธีการทางสถิติศาสตร์และคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ และการจำลองความคิดในระดับที่สูงขึ้นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ [6] = พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจแบ่งได้เป็นสี่ยุค ตามเทคโนโลยีการจัดเก็บและการประมวลผลที่ใช้ ได้แก่ ยุคก่อนเครื่องกล (3000 ปีก่อน ค.ศ. – คริสต์ทศวรรษ 1450) ยุคเครื่องกล (1450–1840) ยุคเครื่องกลไฟฟ้า (1840–1940) และยุคอิเล็กทรอนิกส์ (1940–ปัจจุบัน) [5] บทความนี้จะให้ความสำคัญไปที่ยุคล่าสุด (ยุคอิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณคริสต์ทศวรรษ 1940

การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒน...